วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ใบ(Leaf)




โครงสร้างของใบ
1. โครงสร้างภายนอกของใบ     
      ประเภทของใบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ใบเดี่ยว (Simple leaf) เป็นใบที่ในก้านใบ 1 ก้าน จะมีเพียงใบเดียว เช่น ใบมะม่วง พริก มะยม ใบมะละกอ ชมพู่ สาเก อ้อย ละหุ่ง มันสำปะหลัง
2. ใบประกอบ (Compound leaf) เป็นใบที่แผ่นใบแตกเป็นใบย่อยเล็กตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไป ติดอยู่กับก้านใบใหญ่ ซอกใบไม่มีตา เช่น กุหลาบ ถั่ว กระถิน มะขาม ก้ามปู
โครงสร้างภายนอกของใบ ประกอบด้วย
1. แผ่นใบ (Blade)
2. ก้านใบ (Petiole)
3. หูใบ (Stipule) ป้องกันใบเมื่อยังอ่อน
4. เส้นกลางใบ (Midrib)
5. เส้นใบ (vein) ซึ่งแตกแขนงออกมาจากเส้นกลางใบอีกที
ซึ่งภายในเส้นใบและเส้นกลางใบ จะมี Vascular bundle มาหล่อเลี้ยงใบ โดยการเรียงตัวของเส้นใบนั้นแตกต่างกันในพืชดอก โดยพื่ชใบเลี้ยงเดี่ยวจะเป็นแบบขนาน ส่วนพืชใบเลี้ยงคู่จะเป็นแบบร่างแห
ใบไม้มักมีชั้น Cuticle เป็นสาร Cutin เคลือบด้านนอกป้องกันน้ำระเหย บางใบจะมี Wax เคลือบอยู่ ทำให้น้ำกลิ้งไปมาได้ เช่น ใบบอน ใบบัว
ภาพแสดงโครงสร้างภายนอกของใบ
2. โครงสร้างภายในของใบ
   ประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่างๆ เช่นเดียวกับลำต้น

              
 ที่มาของภาพนี้ http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/leaf_xs.jpg
ภาพแสดงโครงสร้างภายในของใบ



1. เอพิเดอร์มิส เป็นเนื้อเยื่อผิว มีทั้งด้านบนและด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้น ได้แก่ เซลล์ผิว  เซลล์ขน หรือเปลี่ยนไปเป็นเซลล์คุม (guard cell) ภายในเซลล์ผิวมักไม่ค่อยมีคลอโรพลาสต์หรือมีน้อยยกเว้นเซลล์คุม  เซลล์ผิวมีคิวทินเคลือบอยู่ที่ผนังเซลล์ด้านนอกเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำออกจากใบ  เซลล์คุมมีรูปร่างคล้ายไตหรือเมล็ดถั่ว 2 เซลล์ประกบกัน  พืชที่ใบลอยปริ่มน้ำ เช่น บัวสาย จะมีปากใบ (stoma) อยู่เฉพาะทางด้านบนของใบเท่านั้น ส่วนพืชที่จมอยู่ใต้ผิวน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอกจะไม่มีปากใบและไม่มีคิวทินฉาบผิว ใบพืชบางชนิดมีปากใบทั้งด้านบนและด้านล่าง เช่น ใบข้าวโพด
2. มีโซฟิลล์ (mesophyll) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสทั้ง 2 ด้าน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่มีคลอโรพลาสต์จำนวนมาก โดยทั่วไปพาเรงคิมาในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเซลล์ 2 แบบ ทำให้โครงสร้างภายในแบ่งเป็น2 ชั้นคือ
                1. แพลิเซดมีโซฟิลล์ (palisade mesophyll) มักพบอยู่ใต้ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านบน ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างยาว เรียงตัวเป็นแถวตั้งฉากกับผิวใบคล้ายรั้วอาจมีแถวเดียวหรือหลายแถว ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์ค่อนข้างหนาแน่นมาก
                2. สปันจีมีโซฟิลล์ (spongy mesophyll) อยู่ถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ลงมาจนถึงชั้นเอพิเดอร์มิสด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างไม่แน่นอนเรียงตัวในทิศทางต่างๆ กัน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์มาก ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์หนาแน่นแต่น้อยกว่าแพลิเซดมีโซฟิลล์
3. มัดท่อลำเลียง ประกอบด้วยไซเลมและโฟลเอ็ม โดยไซเลมและโฟลเอ็มจะเรียงติดต่อถึงกันอยู่ในเส้นใบ พืชบางชนิดมัดท่อลำเลียงจะล้อมรอบด้วยบันเดิลชีท (bundle sheath) เช่น ใบข้าวโพด  บันเดิลชีทในพืชบางชนิดมีเนื้อเยื่อไฟเบอร์ช่วยทำให้มัดท่อลำเลียงแข็งแรงเร็วขึ้น ในพืชบางชนิดมีเนื้อเยื่อพาเรงคิมา ซึ่งจะมีคลอโรพลาสต์หรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช   มัดท่อลำเลียงส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้นสปันจีมีโซฟิลล์
                          ที่มาของเนื้อหา http://nd-biology.tripod.com/mysite/nd_biology_03.html


       
     

        
 ที่มาของภาพนี้                
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/wactharee_p/sience/picture/leaves_04.jpg

หน้าที่ของใบมีดังนี้     1. ปรุงอาหาร หรือกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งจะเกิดเฉพาะ ในเวลากลางวัน และเกิดที่ใบเป็นส่วนใหญ่ ที่ลำต้น หรือส่วนประกอบอื่นที่มีสีเขียว ก็สามารถปรุงอาหารได้     2. หายใจ พืชจำเป็นต้องมีการหายใจตลอดเวลาเช่นเดียวกับสัตว์ ในเวลากลางวัน พืชจะหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป และปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาเมื่อเราเข้าไปในป่า หรือนั่งใต้ต้นไม้ในเวลากลางวันจึงรู้สึกสดชื่น เนื่องจากได้รับอากาศ บริสุทธิ์จากต้นไม้  
     3. คายน้ำ การคายน้ำเป็นการปรับอุณหภูมิภายในต้นพืชไม่ให้สูงมาก ในวันที่มีอากาศร้อนพืชจะคายน้ำมากกว่าวันที่อากาศปกติ

ที่มาของเนื้อหา  http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/wactharee_p/sience/sec03p03.html

ใบที่เจริญเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ (Modified leaf)
1. Storage leaf เป็นใบที่สะสมอาหารและน้ำ มีลัักษณะอวบหนาขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น ใบว่านหางจระเข้
2. Reproductive leaf เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่ขยาพันธุ์ เช่น ใบของต้นตายใบเป็น ใบโคมญี่ปุ่น
3. Bud scale เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นเกล็ดหุ้มตาไวจนหลุดร่วงออกไปเมื่อตาเจริญ เช่น ไผ่ สาเก ยาง จำปี
4. Leaf spine เป็นใบที่เปลี่ยนไปเป็นหนาม เช่น หนามกระบองเพชร
5. Phyllode เป็นส่วนของก้านใบที่เปลี่ยนแปลงมาคล้ายใบมีสีเขียว เช่น ใบกระถินณรงค์
6. Buoyancy leaf เป็นใบที่เปลี่ยนเป็นทุ่นลอยน้ำ พองขยายโต ภายในมีช่องอากาศมาก ช่วยในการลอยตัว เช่น ผักตบชวา
7. Leaf tendril เป็นใบที่เปลี่ยนไปยึดเกาะและพยุงลำต้นให้เจริญขึ้นไปที่สูง หรือพันรอบวัตถ มีลักษณะเป็นเส้นเีรียวเล้กๆ ม้วนตัวเป็นวงๆ เช่น มือเกาะของถั่วลันเตา และดองดึง
8. Scale leaf เป็นใบที่เปลี่ยนเป็นเกล็ดเล็กๆ อาจมีขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บอาหาร เช่น กลีบหัวหอม กลีบกระเทียม
9. Bract เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงมาคล้ายกลีบดอก เป็นใบประดับ เช่น ดอกหน้าวัว ดอกเฟื่องฟ้า
10. Carnivorous leaf เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นกับดักแมลง เช่น ใบดักจับแมลงของต้นหม้อข้าวหม้อแกง กาบหอยแครง
  
ภาพแสดงใบพิเศษ เช่น ใบที่เปลื่ยนไปเป็นหนาม ใบที่เป็นกับดักแมลง



วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Animation Biology

การ์ตูนความรู้ จาก โรงเรียนแม่สรวยวิทยาคม อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

ราก






ลำต้น 




ใบ





"ใบและหน้าที่ของใบ" เป็นเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อเป็นการสรุปเนื้อหาเรื่องใบในวิชาชีววิทยา 

ในระดับชั้นม.5 โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา ปีการศึกษา 2554 




ดอก




ผลและเมล็ด



ลำต้น(stem)






ลำต้นเป็นโครงสร้างของพืชที่เจริญถัดขึ้นมาจากราก ลำต้นมีข้อปล้อง บริเวณข้อจะมีใบ ที่ซอกใบมีตา ลำต้นทำหน้าที่ชูกิ่ง ใบ ดอก ผล และทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร ธาตุอาหาร และน้ำเนื้อเยื่อบริเวณปลายยอด                เมื่อตัดตามยาวผ่านกลางส่วนปลายยอด แล้วนำไปศึกษาลักษณะเนื้อเยื่อโดยใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายต่างๆ จะเห็นเซลล์มีลักษณะขนาด รูปร่าง และการเรียงตัวเป็นบริเวณต่างๆ ดังนี้
                                                         
                                          ที่มาของภาพนี้ 
http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/apical_mer.jpg

                 1.
เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (apical meristem) เป็นบริเวณปลายสุดของลำต้น เซลล์บริเวณนี้จะแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา
                 2.ใบเริ่มเกิด (leaf primordium) อยู่ตรงด้านข้างของปลายยอดส่วนที่เป็นขอบของความโค้ง ถ้าพืชตัวอย่างที่ศึกษามีใบแบบตรงข้ามกันจะเห็นใบเริ่มเกิดอยู่ 2 ข้าง ใบเริ่มเกิดนี้ต่อไปจะพัฒนาเป็นใบอ่อน ตรงโคนของใบเริ่มเกิดจะเห็นเซลล์ขนาดเล็กรูปร่างยาวเรียงตัวเป็นแนวยาวจากลำต้นขึ้นไปจนถึงใบอ่อน
                
3.ใบอ่อน (young leaf) เป็นใบที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เซลล์ของใบยังมีการแบ่งเซลล์ และเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงเซลล์ต่อไปอีกจนในที่สุดจะได้เป็นใบที่เจริญเต็มที่
4.ลำต้นอ่อน (young stem) อยู่ถัดจากตำแหน่งใบเริ่มเกิดลงมา ลำต้นส่วนใต้ใบอ่อนก็ยังเป็นลำต้นระยะที่ยังเจริญไม่เต็มที่ กล่าวคือ เซลล์บางบริเวณอาจพัฒนาไปจนเจริญเต็มที่ในระดับหนึ่งแล้ว แต่บางบริเวณยังแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวน และขยายขนาดต่อไปได้อีกโครงสร้างภายของลำต้น
                                                             
                                    ที่มาของภาพนี้   
http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/stem_d.jpg
                                                               
                                         ที่มาของภาพนี้  
http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/stem_m.jpg

                1. เอพิเดอร์มิส อยู่นอกสุดประกอบด้วยเซลล์ผิวเรียงเป็นแถวเดียว  บางเซลล์อาจเปลี่ยนไปเป็นขน
ผิวด้านนอกของเซลล์ในชั้นนี้จะมีสารคิวทีนเคลือบอยู่

                2. คอร์เทกซ์  เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเอพิเดอร์มิสเข้ามาประกอบด้วยเซลล์หรือเนื้อเยื่อหลายชนิด  ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาและมีคอลเลงคิมา (collenchyma) อยู่ใต้ผิวหรืออยู่ตามสันของลำต้น
                3. สตีล  สำหรับพืชใบเลี้ยงคู่จะกว้างมากและแยกจากชั้นคอร์เทกซ์ได้ไม่ชัดเจน ประกอบด้วย
     3.1  มัดท่อลำเลียง  อยู่เป็นกลุ่มๆ  ด้านในเป็นไซเลม  ด้านนอกเป็นโฟลเอ็มเรียงตัวในแนวรัศมีเดียวกัน
     3.2 วาสคิวลาร์เรย์  เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิวมาที่อยู่ระหว่างมัดท่อลำเลียง  เชื่อมต่อระหว่างคอร์เทกซ์และพิธ
     3.3 พิธ อยู่ชั้นในสุดเป็นไส้ในของลำต้นประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิวมา  ทำหน้าที่สะมสแป้งหรือสารต่างๆ
                สำหรับลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวชั้นของเนื้อเยื่อต่างๆคล้ายกับในพืชใบเลี้ยงคู่  แต่แตกต่างกันตรงที่มัดท่อลำเลียงในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะกระจายอยู่ทั่วไป  ไม่มีวาสคิวลาร์แคมเบียมขั้นระหว่างไซเลมและโฟลเอ็ม  พืชบางชนิดพิธจะสลายไปกลายเป็นช่องกลวงอยู่ใจกลางลำต้น  เรียกว่า ช่องพิธ (pith cavity) พบมากในบริเวณปล้อง
                การเจริญเติบโตขั้นที่สองของลำต้นใบเลียงคู่  พืชใบเลี้ยงคู่ที่มีเนื้อไม้เป็นการเจริญเติบโตเพื่อขยายขนาดทางด้านข้างจะมีวาสคิวลาร์แคมเบียมเกิดขึ้นตรงแนวระหว่างไซเลม  และโฟลเอ็มของการเจริญเติบโตขั้นแรก
                วาสคิวลาร์แคมเบียม  จะแบ่งเซลล์สร้างเนื้อเยื่อไซเลมขั้นที่สองเพิ่มขึ้นทางด้านในและสร้างเนื้อเยื่อโฟลเอ็มขั้นที่สองเพิ่มขึ้นทางด้านนอก  การแบ่งเซลล์ได้ไซเลมขั้นที่สองจะเกิดขึ้นเร็วกว่าการเกิดโฟลเอ็มขั้นที่สอง  ในพืชส่วนมากโฟลเอ็มขั้นแรกทางด้านนอกจะถูกโฟลเอ็มขั้นที่สองที่สร้างขึ้นใหม่เบียดจนสลายไปหมด
                ในรอบ 1 ปี วาสคิวลาร์แคมเบียมของพืชที่มีเนื้อไม้จะมีการแบ่งเซลล์สร้างไซเลมและโฟลเอ็มขั้นที่สองจำนวนมากน้อยต่างกันในแต่ละฤดูขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำและแร่ธาตุอาหาร  ในฤดูที่สิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ดี  เช่น  ฤดูฝน  เซลล์ชั้นไซเลมจะเจริญเร็วมีขนาดใหญ่ทำให้ได้ชั้นไซเลมกว้าง  และมีสีจาง  ส่วนในฤดูแล้งเซลล์ชั้นไซเลมจะเจริญช้ามีขนาดเล็กเบียดกันแน่นทำให้เห็นเป็นแถบแคบๆ  และมีสีเข้ม  ลักษณะดังกล่าวทำให้เนื้อไม้มีสีจางและมีสีเข้มสลับกันมองเห็นเป็นวงเรียกว่า  วงปี (annual  ring)
                          
  ที่มาของเนื้อหา  http://nd-biology.tripod.com/mysite/nd_biology_02.html







        ลำต้นนอกจากจะทำหน้าที่สร้างใบและกิ่ง ยังช่วยพยุงกิ่งก้านสาขา ชูใบกางออกเพื่อรับแสงเพราะแสงแดดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างอาหารของใบและการสร้างดอก  ลำต้นยังมีหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ลำเลียงน้ำ ธาตุอาหารและสารต่างๆที่พืชสร้าง ส่งผ่านไปยังส่วนต่างๆ  นอกจากนี้ลำต้นอาจมีหน้าที่พิเศษอื่นๆ อีกบางส่วนของลำต้นเปลี่ยนแปลงไป บางชนิดเปลี่ยนเป็นหนาม เช่น มะนาว  ส้ม  เฟื่องฟ้า  บางชนิดเปลี่ยนไปเป็นมือเกาะ เช่น พวงชมพู องุ่น 
                                                            
                            ที่มาของภาพนี้ http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/mun.jpg
                                                                  
                            ที่มาของภาพนี้  http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/pink.jpg
           
 พืชที่เจริญในที่แห้งแล้งและอุณหภูมิสูง จะมีวิวัฒนาการของใบเปลี่ยนไปเป็นหนาม ลำต้นอวบน้ำที่ลำต้นมีคลอโรฟิลล์ใช้สังเคราะห์แสงแทนใบ เช่น กระบองเพชร  พญาไร้ใบ                                                                     
                             ที่มาของภาพนี้  http://nd-biology.tripod.com/mysite/images/tabong.jpg
            
 พืชบางชนิดลำต้นอยู่ใต้ดิน ทำให้เข้าใจผิดว่าลำต้นเป็นราก ลำต้นเหล่านี้มีรากเล็กๆ งอกออกมาคล้ายกับรากแขนงที่แตกออกมาจากรากแก้ว ลำต้นใต้ดินจะมีตา  ข้อปล้องและใบเกล็ดคลุมตา เช่น เผือก  มันฝรั่งแห้ว  ขิง  ข่า
                           ที่มาของเนื้อหา  http://nd-biology.tripod.com/mysite/nd_biology_05.html







ชนิดของลำต้น        สามารถจำแนกลำต้นออกตามแหล่งที่อยู่ได้สองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ลำต้นเหนือดินและลำต้นใต้ดินลำต้นใต้ดิน ( Underground stem)
ลำต้นใต้ดิน ( Underground stem)     1เหง้า ( rhizome or root stock) เป็นลำต้นใต้ดินที่มักเจริญในแนวขนานกับผิวดิน อาจมีลักษณะกลมแตกติดต่อกันหรือกลมยาว มีข้อและปล้องสั้นๆ มีใบเกล็ดหุ้มตาไว้ ตาอาจแตกแขนงเป็นลำต้นใต้ดินหรือลำต้น และใบแทงขึ้นเหนือดินมีส่วนรากแทงลงดิน ได้แก่ ขมิ้น ขิง ข่า พุทธรักษา
     2. Tuber เป็นลำต้นใต้ดินสั้นๆ ประกอบด้วยข้อและปล้อง 3-4 ปล้องไม่มีใบลำต้นมีอาหารสะสม ทำให้อวบกลม มีตาอยู่โดยรอบเกล็ด บริเวณปล้องมีตาซึ่งตามักจะบุ๋มลงไป ตาเหล่านี้สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้ ได้แก่ มันฝรั่ง มันหัวเสือ
     3.Bulbเป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรงมีข้อปล้องสั้นมากตามปล้องมีใบเกล็ด(ScaleLeaf)ทำหน้าที่สะสมอาหารซ้อนห่อหุ้มลำต้นไว้หลายชั้นจนเห็นเป็นหัวลักษณะกลมใบชั้นนอกสุดจะลีบแบนไม่สะสมอาหาร ส่วนล่างของลำต้นมีรากเป็นกระจุก เช่น หอม กระเทียม พลับพลึง ว่านสี่ทิศหัวกลม
     4.Corm เป็นลำต้นใต้ดินที่มีลำต้นตั้งตรงลักษณะกลมยาวหรือกลมแบนมีข้อปล้องเห็นชัดตามข้อมีใบเกล็ดบางๆ หุ้ม ลำต้นสะสมอาหารทำให้อวบกลมมีตาตามข้อสามารถงอกเป็นใบโผล่ขึ้นเหนือดินหรืออาจแตกเป็นลำต้นใต้ดินต่อไปได้ด้านล่างของลำต้นมีรากฝอยเส้นเล็กจำนวนมาก ได้แก่ เผือก แห้ว บัวสวรรค์ ซ่อนกลิ่น

ลำต้นเหนือดิน ( Aerial  stem ) 
    1.ลำต้นเลื้อย(Creepin stem, Prostate  stem )   เป็นลำต้นที่ทอดหรือเลื้อยขนานไปตามผิวดินหรือผิวน้ำ ตามข้อมักมีรากงอกออกมาแล้วแทงลงในดินเพื่อช่วยยึดลำต้นนอกจากนี้บริเวณข้อจะมีตาเจริญไปเป็นแขนงยาวขนานไปกับพื้นดินหรือผิวน้ำซึ่งจะงอกรากและลำต้นขึ้นใหม่และจะแยกเช่นนี้เรื่อยๆไปเป็นการแพร่พันธุ์ของพืชได้วิธีหนึ่งแขนงที่ขนานไปตามพื้นดินหรือผิวน้ำดังกล่าวนี้ เรียกว่า ไหล ( Stolon หรือ Runner ) เช่น  ต้นหญ้า  ผักบุ้ง  ผักกระเฉด  ผักตบชวา บัวบก  สตรอเบอรี่ เป็นต้น
     
 2.   ลำต้นไต่ ( Climbing stem )   เป็นลำต้นที่เลื้อยหรือไต่ขึ้นที่สูง มักมีลำต้นอ่อนเป็นพวกไม้เลื้อย ได้แก่
      
 2.1   ทไวเนอร์ ( Twiner )  
เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้ลำต้นพันกับหลักเป็นเกลียว เช่น  ต้นถั่ว  บอระเพ็ด  และเถาวัลย์ต่างๆ       2.2   มือเกาะ ( Stem  tendril )   เป็นลำต้นที่ดัดแปลงไปเป็นมือเกาะ ( tendril ) สำหรับพันหลักเพื่อไต่ขึ้นที่สูง ส่วนของtendril จะบิดเป็นเกลียวคล้ายลวดสปริงเพื่อให้ยืดหยุ่นเช่นบวบแตงกวาฟักทองกะทกรก   พวงชมพู  เป็นต้น       2.3   รูทไคลม์เบอร์ ( Root  climber )   เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูง โดยใช้รากซึ่งงอกออกมาตามข้อยึดกับหลักหรือต้นไม้ เช่นต้นพริกไทย  พลู   พลูด่าง       2.4   หนาม ( Stem  spine or Stem  thorn )   เป็นลำต้นที่ดัดแปลงไปเป็นหนามรวมทั้งขอเกี่ยวสำหรับไต่ขึ้นที่สูง เช่นเฟื่องฟ้า  มะนาว   มะกรูด  พวกส้มต่างๆ  ไมยราบ     3.   แคลโดฟิลล์ ( Cladophyll )   เป็นลำต้นที่เปลี่ยนไปมีลักษณะคล้ายใบ ทำหน้าที่แทนใบโดยมีสีเขียวและสังเคราะห์แสงได้ เช่น  สนทะเล   พญาไร้ใบ  กระบองเพชร  โปร่งฟ้า     4.   บัลบิล ( Bulbil )   เป็นลำต้นเหนือดินสั้นๆ มีใบออกมาเป็นกระจุก เช่น  หอม  กระเทียม         
  ที่มาของเนื้อหา  http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/67/2/html/Stem2.htm

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ราก(root)



โครงสร้างของราก:: แบ่งได้ 4 บริเวณ คือ
     1. บริเวณหมวกราก (Root capประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมา (Parenchyma) เรียงตัวกันอย่างหลวมๆ ผนังค่อนข้างบาง มีแวคิวโอลนาดใหญ่ สามารถผลิตเมือกได้ ทำให้หมวกรากชุ่มชื้ และอ่อนตัว สะดวกค่อการชอนไช และสามารถป้องกันอันตรายให้กับบริเวณที่อยู่เหนือขึ้นไปได้
   2.บริเวณเซลล์กำลังแบ่งตัว(Region of cell division)อยู่ถัดจากรากขึ้นมาประมาณ 1-2 mm เป็นบริเวณของเนื้อเยื่อเจริญ จึงมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส เพื่อเพิ่มจำนวน โดยส่วนหนึ่งเจริญเป็นหมวกราก อีกส่วนเจริญเป็นเนื้อเยื่อ ที่อยู่สูงถัดขึ้นไป
   3. บริเวณเซลล์ขยายตัวตามยาว (Region of cell elongation) อยู่ถัดจากบริเวณเซลล์มีการแบ่งตัว เป็นบริเวณที่เซลล์มีการยืดยาวขึ้น
  4. บริเวณเซลล์เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะ (Region of cell differentiation and maturation) ประกอบด้วยเซลล์ถาวรต่างๆ ซึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญมีโครงสร้างเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ บริเวณนี้จะมีเซลล์ขนราก (Root hair cell)
                                                   
                                                 ภาพ สไลด์โครงสร้างของรากพืชตามยาว
               ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%
                             

                                                         ภาพ โครงสร้างตามยาวของราก

                  ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%        
                            ที่มา http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/root.html



  
      ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/pic1.jpg

หน้าที่ของรากราก มีหน้าที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
     
1. ดูดน้ำ และแร่ธาตุ จากพื้นดินส่งขึ้นไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ซึ่งต้องนำไปผ่านกระบวนการปรุง หรือการสังเคราะห์ด้วยแสงก่อน ปัจจุบันได้มีการพัฒนาปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน แต่จะเอารากไปแช่ในน้ำซึ่งมีปุ๋ย หรือธาตุอาหารผสมอยู่ ดังนั้น การดูดน้ำหรือแร่ธาตุที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะไม่ใช่จากพื้นดินเสมอไป
     2. ยึดลำต้นให้ติดกับพื้นดิน พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่กับที่ มีลำต้นชี้ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ส่งกิ่งก้านที่มีใบติดอยู่ขึ้นรับแสงอาทิตย์ เพื่อปรุงอาหาร ถ้าพืชไม่มีรากลำต้นจะ
หน้าที่พิเศษของราก 
พืชบางชนิด มีรากซึ่งทำหน้าที่พิเศษจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้แก่
     
1. รากค้ำจุน (prop root) เป็นรากที่แตกออกจากข้อของลำต้นเหนือดิน ช่วยพยุง
ลำต้นไม่ให้ล้มง่าย เช่น รากโกงกาง ข้าวโพด ลำเจียก ยางอินเดีย
     
2. รากยึดเกาะ (climbing root) เป็นรากที่แตกออกจากข้อของลำต้นแล้วยึดเกาะ
กับเสาหรือไม้อื่นเพื่อไต่ขึ้นด้านบน เช่น รากพลู พลูด่าง พริกไทย
     
3. รากหายใจ (aerating root) เป็นรากที่แตกแขนงจากรากใหญ่ แล้วแทงขึ้นด้านบนขึ้นมาเหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำ เช่น รากลำพู โกงกาง กล้วยไม้     4. รากสังเคราะห์แสง (photosynthetic root) เป็นรากที่แตกแขนงออกจากลำต้น แล้วมักห้อยลงมาในอากาศ มักมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ เช่น รากไทร รากกล้วยไม้      5. รากสะสมอาหาร (storage root) มีลักษณะอวบอ้วน เช่น หัวผักกาด แครอท มันเทศ มันแกว มันสำปะหลัง เป็นต้น
                       ที่มาของเนื้อหา http://school.obec.go.th/webkrusun/plant/title1/root.htm




 
ชนิดของรากเมื่อแยกตามกำเนิด จำแนกออกเป็น 3 ชนิดคือ
1. Primary root หรือ รากแก้ว (tap root) มีลักษณะ ตอนโคนจะโตแล้วค่อยเรียวเล็กลงไปจนถึงปลาย จะยาวและใหญ่กว่ารากอื่นๆที่แยกออกไป ทำหน้าที่ เป็นหลักรับส่วนอื่นๆให้ทรงตัวอยู่ได้ รากชนิดนี้พบในพืชใบเลี้ยงคู่ที่งอกออกจากเมล็ดโดยปกติ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่งอกออกจากเมล็ดใหม่ๆก็มีรากระบบนี้เหมือนกันแต่มีอายุได้ไม่นานก็เน่าเปื่อยไปแล้วเกิดรากชนิดใหม่ขึ้นมาแทน(รากฝอย)
        

                                                                          ภาพ รากแก้ว
      ที่มาของภาพนี้  http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/root_Acer_taproot.jpg
2. Secondary root หรือรากแขนง(lateral root หรือ branch root) เป็นรากที่เจริญเติบโตออกมาจาก รากแก้ว มักงอกเอียงลงไปในดินจนเกือบขนานหรือขนานไปกับพื้นดิน รากชนิดนี้อาจแตกแขนงออกเป็นทอดๆ ได้อีกเรื่อยๆ ทั้งรากแขนงและแขนงต่างๆที่ยื่นออกไปเป็นทอดๆต่างกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อเพริไซเคิลในรากเดิมทั้งสิ้น
                                                     

                                                                           ภาพ รากแขนง
    ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/RKN_10.jpg
3. Adventitious root หรือ รากวิสามัญ เป็นรากที่ไม่ได้กำเนิดมาจากรากแก้วหรือรากแขนง รากชนิดนี้อาจแตกออกจากโคนต้นของพืช ตามข้อของลำต้นหรือกิ่ง ตามใบหรือจากกิ่งตอนของไม้ผลทุกชนิด แยกเป็นชนิดย่อยได้ตามรูปร่างและหน้าที่ ได้ดังนี้
     - รากฝอย (fibrous root) เป็นรากเส้นเล็กๆมากมาย ขนาดโตสม่ำเสมอกันไม่ไม่เรียวลงที่ปลายอย่างรากแก้ว        งอกออกจากรอบโคนต้นแทนรากแก้วที่ฝ่อเสียไปหรือที่หยุดเตอบโต พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่
                                                             
                                                                            ภาพ รากฝอย
              ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/fibrsrt.jpg
- ากค้ำจุ้น (Prop root) เป็นรากที่แตกออกมาจากข้อของลำต้น ที่อยู่ใต้ดิน และเหนือดินขึ้นมาเล็กน้อย และพุ่งแทงลงไปในดิน        เพื่อพยุงลำต้นเอาไว้ไม่ให้ล้มง่าย เช่นรากค้ำจุนของต้นข้าวโพด ต้นลำเจียก ต้นโกงกาง 
                                   
                                                                                ภาพ รากค้ำจุน
            ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/Prop_roots.jpg
 - รากเกาะ (Climbing root) เป็นรากที่แตกออกมาจากข้อของลำต้นแล้วมาเกาะตามหลักหรือเสา       เพื่อพยุงลำต้นให้ติดแน่นและชูลำต้นขึ้นที่สูง เช่นรากของพลู พลูด่าง กล้วยไม้ 
                               
ภาพ รากเกาะ
          ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/root%20climbing.jpg
 - รากสังเคราะห์แสง (photosynthtic root) เป็นรากที่แตกออกมาจากข้อของลำต้น แล้วห้อยลงมาในอากาศ 
มีสีเขียวของคลอโรฟิล       เป็นรากที่ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง เช่น รากกล้วยไม้ที่มีสีเขียวเฉพาะรากอ่อน หรือปลายรากที่แก่เท่านั้น
      รากของไทร โกงกาง มีสีเขียวเฉพาะตรงที่ห้อยอยู่ในอากาศ ส่วนที่ไซลงไปในดินแล้วไม่มีสีเขียวเลย
                                              
                                                               ภาพ รากสังเคราะห์แสงของกล้วยไม
                ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/7.jpg
  - รากหายใจ (Respiratory root)รากพวกนี้เป็นแขนงงอกออกจากรากใหญ่ที่แทงลงไปในดินอีกทีหนึ่ง แต่แทนที่จะงอกลงไปในดิน กับ      ชูปลายขึ้นมาเหนือดินหรือผิวน้ำ บางทีก็ลอยตามผิวน้ำ เช่นรากของแพงพวย 
                            
                                                                ภาพ รากต้นลำพูซึ่งเป็นรากหายใจ
              ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/pneumat.jpg
- รากกาฝาก (Parasitic root) เป็นรากของพืชบางชนิดที่เป็นปรสิต เช่นรากของต้นกาฝาก และต้นฝอยทอง
                                         
                                                                      ภาพ กาฝาก
                ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/rtsuck2.jpg
  - รากสะสมอาหาร (storage root) เป็นรากที่ทำหน้าที่ในการสะสมอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล หรือ โปรตีนเอาไว้      ทำให้มีลักษณะอวบอ้วนเรามักเรียกว่า หัว เช่น หัวแครอต หัวผักกาด หัวมันเทศ หัวมันแกว มันสำปะหลัง กระชาย เป็นต้น
                              
                                                            ภาพ รากสะสมอาหาร
                ที่มาของภาพนี้ http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/image%20root/rootveg.jpg

ที่มาของเนื้อหา http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/root.html





วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เนื้อเยื่อพืช

เนื้อเยื่อพืช


เนื้อเยื่อพืชที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างส่วนต่างๆ ของพืชแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น แบ่งตามความสามารถในการแบ่งเซลล์ หน้าที่ ลักษณะโครงสร้าง หรือตามตำแหน่งที่อยู่  ถ้าจำแนกตามความสามารถในการแบ่งเซล์จะแบ่งเนื้อเยื่อพืชเป็น  2 ประเภท คือ
1. เนื้อเยื่อ เจริญ (Meristem tissue)
2. เนื้อเยื่อถาวร (Permament tissue)
เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem tissue)
เนื้อเยื่อเจริญเป็นเนื้อเยื่อที่สามารถแบ่งตัวได้ มักมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ผนังเซลล์บาง นิวเคลียสใหญ่ เด่นชัด แวคิวโอลขนาดเล็ก เซลล์อยู่ชิดกัน
ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของเนื้อเยื่อเจริญอกเป็น 3 ประเภท ตามตำแหน่ง
1.เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem) : เนื้อเยื่อประเภทนี้พบอยู่บริเวณปลายยอด ปลายราก และตา
เนื้อเยื่อปลายยอด
เนื้อเยื่อปลายราก
ที่มารูปภาพ : www.nana-bio.com/e-learning/Meristem.htm
2.เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Laterral meristem) : จะพบหลังจากมีการเจริญขั้นที่สอง เป็นเซลล์รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังเซลล์บาง เรียงตัวเป็นระเบียบ แบ่งเป็น 2 ชนิด
1) วาสคิวลาร์ แคมเบียม : แทรกอยู่ระหว่าง ไซเลม และโฟลเอ็ม มีหน้าที่ สร้าง secondary xylem และ secondary pholem พบในพืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิด และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด
2) คอร์ก แคมเบียม  : ทำหน้าที่สร้างคอร์ก เพื่อทำหน้าที่แทนเซลล์เอพิเดมิส
วาสคิวลาร์แคมเบียม                                                                            คอร์ก แคมเบียม
 
ที่มารูปภาพ:www.nsci.plu.edu/…/b359web/pages/meristem.htm         ที่มารูปภาพ:kruwasana.info/M_tissue.html
3.เนื้อเยื่อเจริญ เหนือข้อ(Intercalary meristem) : เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้จะอยู่บริเวณเหนือข้อของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น ซึ่งมีฮอร์โมนจิบเบอเรลลินเข้ามาเกี่ยวข้อง
เนื้อเยื่อเจริญเหนือ ข้อ
ข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com/node/49583
เนื้อเยื่อถาวร
เนื้อเยื่อถาวร คือ เนื้อเยื่อพืชซึ่งประกอบด้วยเซลล์ที่แบ่งตัวไม่ได้ และมีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ จะคงรูปร่างลักษณะเดิมไว้ตลอดชีวิตของส่วนนั้น ๆ ของพืชเนื้อเยื่อชนิดนี้เจริญเติบโต และเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ กันจนเซลล์นี้รูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มี Vacuole และ cell wall ก็เปลี่ยนแปลงไปสุดแท้แต่ว่า จะกลายไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรชนิดไหน ซึ่งโดยมากมักมีสารประกอบต่าง ๆ ไปสะสมบน cell wall ให้หนาขึ้นเพื่อให้เกิดความแข็งแรง
ชนิดของเนื้อเยื่อถาวร เมื่อจำแนกตามลักษณะของเซลล์ที่มาประกอบกันจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบด้วย เซลล์ชนิดเดียวกันล้วน ๆ จำแนกออกเป็นหลายชนิด คือ Epidermis Parenchyma Collenchyma Sclerenchyma Coke Secretory tissue
2. เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบขึ้นด้วย เซลล์หลายชนิดอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน เพื่อทำงานร่วมกัน ประกอบขึ้นด้วย 2 กลุ่มด้วยกันคือ Xylem และ Phloem ซึ่งจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า Vascular bundle หรือ Vascular tissue นั่นเอง
เนื้อเยื่อถาวร เชิงเดี่ยว
Epidermis เป็น simple tissue ที่อยู่ผิวนอกสุดของส่วนต่าง ๆ ของพืช (ถ้าเปรียบกับตัวเรา ก็คือ หนังกำพร้านั่นเอง) เป็นเซลล์ที่มีชีวิต เมื่อโตเต็มที่แล้ว จะมี Vacuole ขนาดใหญ่ จนดัน protoplasm ส่วนอื่น ๆ ให้ร่นไปอยู่ที่ขอบเซลล์หมด
หน้าที่ของ epidermis
- ช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อที่อยู่ข้างใน และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงด้วย
- ช่วยป้องกันการระเหย (คาย) น้ำ (เพราะถ้าพืชเสียน้ำไปมากจะเหี่ยว) และช่วยป้องกันน้ำไม่ ให้ซึมเข้าไปข้างในด้วย (เพราะถ้าได้รับน้ำมากเกินไป จะเน่าได้ )
- ช่วยในการแลกเปลี่ยนแก๊สทั้งไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจน โดยทางปากใบ
- ช่วยดูดน้ำและเกลือแร่
epidermis คือบริเวณกลมๆใสๆด้านบน
ที่มารูปภาพ:http://www.se-society.com/forum/viewtopic.php?p=121315& amp;sid=a3522cf5f701f279af668fb84e600eba
Parenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบด้วย Parenchyma Cell ซึ่งเป็นเซลล์พื้นทั่ว ๆ ไป และพบมากที่สุดในพืชโดยเฉพาะส่วนที่อ่อนนุ่มและอมน้ำได้มาก เช่น ในชั้น Cortex และ Pith ของรากและลำต้น
Parenchyma cell เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีรูปร่างหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ทรงกระบอกกลม หรือทรงกระบอกเหลี่ยมด้านเท่า อาจกลมรี มี cell wall บาง ๆ
หน้าที่ Parenchyma
- ช่วยสังเคราะห์แสง
- สะสมอาหาร (พวกแป้ง โปรตีน และไขมัน ) น้ำ
- สร้างน้ำมันที่มีกลิ่นหอมหรืออื่น ๆ ตามแต่ชนิดของพืชนั้น ๆ
- บางส่วนช่วยทำหน้าที่หายใจ
เนื้อเยื่อพาเรงคิมา
ที่มารูปภาพ:http://www.psuwit.psu.ac.th/e-learning/data/cai/biology/Chapter5/Picture_Chapter5/5.7.jpg
Collenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบด้วย Collenchyma cell พบมากในบริเวณ Cortex ใต้ epidermis ลงมา ในก้านใบ เส้นกลางใบ เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เซลล์อัดแน่น ขนาดของเซลล์ส่วนมากเล็ก หน้าตัดมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมแต่ยาวมาตาม ความยาวของต้น และปลายทั้งสองเสี้ยมหรือตัดตรง
หน้าที่ของ Collenchyma
- ช่วยทำให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชเหนียวและแข็งแรงทรงตัวอยู่ได้
- ช่วยป้องกันแรงเสียดทานด้วย
Sclerenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบขึ้นด้วยเซลล์ซึ่งมีลักษณะทั่วๆ คือ เป็นเซลล์ที่ตายแล้ว (ตอนเกิดใหม่ ๆ ยังมีชีวิตอยู่แต่พอโตขึ้น Protoplasm ก็ตายไป ) เซลล์วอลหนามากประกอบขึ้นด้วยเซลล์ลูโลสและลิกนิก เนื้อเยื่อชนิดนี้แข็งแรงมากจัดเป็นโครงกระดูกของพืช
Sclerenchyma จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิดตามรูปร่างของเซลล์ คือ
1. Fiber เรามักเรียกว่าเส้นใย ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะเรียวและยาวมากปลายทั้งสองเสี้ยม หรือค่อนข้างแหลม มีความเหนียวและยึดหยุ่นได้มากจะเห็นได้จากเชือกที่ทำจากลำต้นหรือใบของพืช ต่าง ๆ
หน้าที่ของ Fiber
- ช่วยให้ความแข็งแรงแก่พืช
- ช่วยพยุงลำต้นให้ตั้งตรงและแข็งแรง และให้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของ คนมาก เช่น พวกเชือก เสื้อผ้า ฯลฯ ก็ได้มาจากไฟเบอร์ ของพืชเป็นส่วนใหญ่
2. Stone cell ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะคล้ายกับไฟเบอร์ แต่เซลล์ไม่ยาวเหมือนไฟเบอร์ เซลล์อาจจะสั้นกว่าและป้อม ๆ อาจกลมหรือเหลี่ยมหรือเป็นท่อนสั้น ๆ รูปร่างไม่แน่นอน พบอยู่มากตามส่วนแข็ง ๆ ของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเปลือกของเมล็ดหรือผลไม้ เช่น กะลามะพร้าว เมล็ดพุทรา เมล็ดแตงโม หรือ ในเนื้อของผลไม้ที่เนื้อสาก ๆ เช่น เสี้ยนในเนื้อของลูกสาลี่ เนื้อน้อยหน่า ฝรั่ง
หน้าที่ของ Stone cell
- ช่วยให้ความแข็งแรงแก่ส่วนต่าง ๆ ของพืช (เพราะเป็นเซลล์ที่แข็งมาก)
Cork เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด ของลำต้นและรากใหญ่ ๆ ที่แก่แล้ว ของไม้ยืนต้น
เซลล์ของคอร์ก มีลักษณะคล้ายพาเรนไคมาเซลล์ แต่ผนังหนากว่ามีทั้ง ไพมารีและเซคันดารี วอลล์ และตามปกติจะไม่มีพิตเลย เนื้อเยื่อคอร์ก มีแต่เซลล์ที่ตายแล้ว
ต้นไม้บางชนิดมีคอร์ก หุ้มหนามาก จนบางทีเราลอกเอามาทำจุกขวดหรือแผ่นไม้คอร์กนั่นเอง คอร์กยังพบที่โคนก้านใบขณะที่ใบกำลังจะร่วง และแผลเป็นตามลำต้น
หน้าที่ของคอร์ก
- ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำ ป้องกันความร้อน ความเย็น และอันตรายต่าง ๆ จากภายนอก
เนื้อ เยื่อถาวรเชิงซ้อน
Xylem
Xylem เป็น complex tissue ซึ่งทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงน้ำอนินทรีย สารและวัตถุดิบเป็นสารละลาย รวมทั้งแร่ธาตุ ๆ จากรากขึ้นข้างบนไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช การลำเลียงแบบนี้เรียกว่า Coonduction
นอกจากนี้แล้ว ไซเลม ยังมีหน้าที่ช่วยค้ำจุนเสริมความแข็งแรงให้แก่ส่วนต่าง ๆ ของพืชอีกด้วย
Tracheid
Tracheid เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ ยาว ๆ ซึ่งเมื่อเจริญเต็มที่แล้วจะตายไป และโพรโทพลาซึมจะสลายไป ทำให้ตรงกลางกลายเป็นช่องลูเมน ( lumen ) ใหญ่ เซลล์มีรูปร่างทรงกระบอกกลมหรือเหลี่ยมปลายทั้งสองค่อนข้างแหลม
เทรคีด พบอยู่มากในพืชพวก เฟิร์น และสนภูเขา
หน้าที่ของเทรคีต ทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงน้ำและเกลือแร่ ซึ่งจะลำเลียงไปทางข้าง ๆ และจะ ลำเลียงได้ดีเมื่อเซลล์ตายแล้ว นอกจากนี้เทรคีตยังช่วยค้ำจุนส่วนต่าง ๆ ของพืชอีกด้วย เพราะมีผนังที่แข็ง
Vessel member
เวสเซลล์ เมมเมอร์ เป็นเซลล์เดี่ยวๆ ซึ่งเมื่อเจริญเต็มที่แล้วจะตายไปและ โพรโทพลาซึมตรงกลางสลายไปกลายเป็น ช่องลูเมนใหญ่ เวสเซลล์ เมมเมอร์หลายๆ เซลล์เมื่อมาต่อกันเข้าเป็นท่อยาว และมีผนังกันห้องตามขวาง หรือ เอน วอลล์ (end wall) ขาดไป ก็จะกลายเป็นท่อกลางยาว
หน้าที่ของเวสเซลล์ เมมเมอร์ เป็นท่อลำเลียงน้ำ และเกลือแร่เช่นเดียวกับ เทรคีด แต่ส่วนใหญ่ลำเลียงขึ้นไปตรง ๆ ไม่ได้ช่วยทำหน้าที่ในการค้ำจุน
Xylem Parenchyma cell
เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เรียงตัวกันอยู่ในแนวตั้งตามความยาวของต้นไม้ มีลักษณะและรูปร่างคล้ายกับ พาเรนไคมา ทั่ว ๆ ไป
หน้าที่ของ Xylem Parenchyma cell ทำหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้ง น้ำมันอื่น ๆ และยังทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ และเกลือแร่ได้ด้วย
Xylem Fiber
เป็น fiber เปลี่ยนแปลงมาจาก tracheid อีกทีหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ค้ำจุนช่วยเหลือ เวสเซลล์ เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างยาว ๆ แต่ยังสั้นกว่าไฟเบอร์ธรรมดาทั่ว ๆ ไป มีปลายเสี้ยม
Phloem
เป็น คอมเพล็ก ทิชชู ซึ่งทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงอาหาร จำพวกอินทรียสาร ซึ่งพืชปรุงขึ้นหรือสังเคราะห์แสงได้จากใบและส่วนอื่น ๆ ที่มีคลอโรฟิลล์ ไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช การลำเลียงอาหารที่ปรุงขึ้นเองของโฟลเอ็มนี้เรียกว่า Translocation
Sieve Tube Member
เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีรูปร่างทรงกระบอกยาว ปลายทั้งสองเสี้ยม ประกอบขึ้นด้วยโพรโทพลาสซึม เมื่อเซลล์ได้รับอันตราย โพรโทพลาสซึมทั้งหมด จึงมักหดตัวอยู่ตรง
กลางเซลล์ ซีฟทิว เมมเบอร์ที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ๆ หรือที่ยังอ่อนอยู่จะมีนิวเคลียสอยู่ด้วย แต่พอเจริญเต็มที่แล้ว นิวเคลียสก็สลายไป โดยที่เซลล์ยังมีชีวิตอยู่
หน้าที่ของซีฟทิว เมมเบอร์ เป็นหลอดหรือท่อสำหรับลำเลียงอาหารโดยตรง ดังนั้นจึงนับว่าเป็นเซลล์ที่สำคัญที่สุดของโฟลเอม